รายงานเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับปัญหาปี ค.ศ.2000

31 สิงหาคม 2541
แบบ 57 (Y2K) รายงานการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับปัญหาปี ค.ศ.2000 บริษัท ธนูลักษณ์ จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจหลักประเภท อุตสาหกรรมสิ่งทอ และ เครื่องนุ่งห่ม โดยมีที่ตั้งสำนักงานใหญ่ที่ 129/1 ถนนช่องนนทรี แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 2950911-19, 2954171-80 โทรสาร 2945101 ขอรายงานเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับปัญหาปี ค.ศ.2000 ครั้งที่ 1 ข้อมูล สิ้นสุด ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2541 บริษัทฯได้เล็งเห็นถึงปัญหาปี ค.ศ. 2000 ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ และ Embedded System ซึ่งอาจจะมีผลต่อเนื่องถึงงานทางด้านบุคคล บัญชี ผลิต ธุรกิจ บริษัทฯ จึง ได้เตรียมตัวและวางแผนเกี่ยวกับปัญหา Y2K เพื่อให้สามารถรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ให้แล้วเสร็จภายในไตรมาสที่ 3 ของปี ค.ศ. 1999 1. การวิเคราะห์และประเมินผลกระทบ ปัจจุบันบริษัทฯ ใช้คอมพิวเตอร์ในการประมวลข้อมูล อยู่ 2 ระบบคือ Mainframe และ PC ซึ่งบริษัทฯ ได้ตระหนักถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2000 และได้ดำเนินการแก้ไขปัญหา ตั้งแต่ปี พ.ศ.2539 เป็นต้นมา โดยศึกษาพบว่า การประมวลข้อมูลบนเครื่อง Mainframe จะ มีปัญหาเมื่อถึงปี ค.ศ.2000 แน่นอน ดังนั้นจึงกำหนดนโยบาย และวางแผนในการแก้ไขปัญหา โดยการ Down Size จาก Mainframe ลงที่ PC ทั้งหมด ซึ่งในปัจจุบันบริษัทฯ ได้ลงทุนจัดตั้งระบบ LAN เพื่อที่จะนำมาใช้แทนระบบ Mainframe เรียบร้อยแล้ว ในส่วนระบบงานที่ใช้งานในปัจจุบัน อยู่ในขั้นตอนการดำเนินการ ทดสอบ และแก้ไข โดยการพัฒนา Software ขึ้นมาเองบางระบบ บางส่วนก็ซื้อจากบริษัทผู้ผลิต Software ซึ่ง Software ใหม่ที่พัฒนาขึ้นได้ทำการทดสอบว่าสามารถรองรับปัญหาปี ค.ศ. 2000 ได้แน่นอน ในการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2000 บริษัทฯ ได้ตั้งทีมงาน ขึ้นมาเพื่อทำการศึกษาผลกระทบ และหาวิธีดำเนินการแก้ไขปัญหาก่อนที่จะถึงปี ค.ศ. 2000 2. ผลกระทบของปัญหา ปี ค.ศ. 2000 ต่อการดำเนินธุรกิจ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อระบบคอมพิวเตอร์ และระบบการจัดการภายใน ทางบริษัทฯ ได้มี นโยบายในการแก้ไขผลกระทบ โดยการดำเนินการพัฒนา Software ระบบงานต่าง ๆ ขึ้นมาใหม่ เพื่อรองรับปัญหาปี ค.ศ. 2000 และวางแผนการทดสอบก่อนที่จะถึงปี ค.ศ. 2000 ไว้แล้วบริษัทฯ เป็นโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งใช้แรงงานเป็นหลัก มีเครื่องจักรและอุปกรณ์บางส่วนที่ใช้ Micro Processor ซึ่งไม่มีผลกระทบจากปี ค.ศ. 2000 ดังนั้น ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในส่วนของ โรงงานและการผลิตจึงไม่มี ในส่วนผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากภายนอกบริษัทฯ มี 3 กรณี กรณีที่ 1 เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างบริษัทในเครือฯ บริษัทฯ และบริษัทในเครือร่วมกันแก้ไขปัญหา ปี ค.ศ. 2000 กรณีที่ 2 เชื่อมโยงกับหน่วยงานราชการและสถาบันการเงิน เช่น ข้อมูลเงินเดือน ส่งธนาคาร ข้อมูลประกันสังคม ส่งสำนักงานประกันสังคม บริษัทฯ จะติดต่อกับหน่วยงานนั้น ๆ เพื่อ เปลี่ยนแปลงข้อมูลในการจัดส่ง กรณีที่ 3 บริษัทฯ กับคู่ค้า เช่น Suppliers บริษัทฯ จะจัดทำแบบสอบถาม เรื่องปัญหา Y2K เพื่อเป็นข้อมูลในการทำงานต่อไป จากการวิเคราะห์ข้างต้น บริษัทฯ จะ Down Size จากเครื่อง Mainframe มาเป็น PC ดังนั้นในแผนงานการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 ในส่วนของ Hardware ที่เป็นคอมพิวเตอร์จะทำ การทดสอบเฉพาะ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็น PC เท่านั้น และเพื่อความสะดวกในการควบคุมดูแล และทดสอบทางทีมงานได้แบ่งประเภทของปัญหาออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ส่วนของ Hardware คอมพิวเตอร์ 1. Mainframe มีผลกระทบจากปี ค.ศ. 2000 โดยตรง บริษัทฯ จะยกเลิก โดยการ Down Size ให้เสร็จภายใน ไตรมาสที่ 2 ของปี ค.ศ. 1999 2. Server ไม่ได้รับผลกระทบเนื่องจากเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่ซื้อเข้ามาทดแทน Mainframe เพื่อรองรับปัญหาของปี ค.ศ. 2000 งบประมาณ ประมาณ 1,000,000 บาท ผู้รับผิดชอบ คุณณรงค์ศักดิ์ เนตรพิศาลวนิช 3. Microcomputer/Workstation จากการทดสอบเบื้องต้นสามารถแบ่งคอมพิวเตอร์ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 คือกลุ่มที่ไม่มีปัญหา Y2K กลุ่มที่ 2 คือกลุ่มที่มีปัญหา แต่สามารถแก้ไขได้ ด้วยการแก้ไขวันที่ กลุ่มที่ 3 คือกลุ่มที่มีปัญหา และไม่สามารถแก้ไขได้ ผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ คุณสมภพ วิสุทธิเทพ งบประมาณ ประมาณ 1,300,000 บาท อุปกรณ์ต่อพ่วง ได้แก่ เครื่องพิมพ์, Modem , Scanner อุปกรณ์เหล่านี้บริษัทฯ ไม่สามารถตรวจสอบได้เอง จึงให้ผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ ติดต่อ กับบริษัทผู้จำหน่ายอุปกรณ์ เพื่อขอคำรับรองว่าอุปกรณ์ ดังกล่าวสามารถรองรับปัญหาปี ค.ศ. 2000ได้ ผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ คุณสมภพ วิสุทธิเทพ งบประมาณ ประมาณ 900,000 บาท อุปกรณ์เกี่ยวกับ Network ได้แก่ Router, Switching, Hub, LAN Card อุปกรณ์เหล่านี้บริษัทฯ ไม่สามารถตรวจสอบได้เอง จึงให้ผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ ติดต่อ กับบริษัทผู้จำหน่ายอุปกรณ์ เพื่อขอคำรับรองว่าอุปกรณ์ ดังกล่าวสามารถรองรับปัญหา ปี ค.ศ.2000 ได้ ผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ คุณณรงค์ศักดิ์ เนตรพิศาลวนิช งบประมาณ ประมาณ 1,000,000 บาท อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีคอมพิวเตอร์อยู่ภายใน เช่น PABX, COMMARKING, เครื่องรูดบัตร, BARCODE (เครื่องพิมพ์, เครื่องอ่าน), เครื่องคอมฯควบคุม Line การผลิต, อุปกรณ์ดาวเทียม, SECOM, เครื่องจักรในผลิตที่มี Monitor อุปกรณ์เหล่านี้บริษัทฯ ไม่สามารถตรวจสอบได้เอง จึงให้ผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ ติดต่อ กับบริษัทผู้จำหน่ายอุปกรณ์ เพื่อขอคำรับรองว่าอุปกรณ์เหล่านี้ สามารถรองรับปัญหาปี ค.ศ. 2000 ได้ ผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ คุณณรงค์ศักดิ์ เนตรพิศาลวนิช ส่วนที่ 2 ส่วนของ Software ได้แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ Software ระบบปฏิบัติการ ได้แก่ Dos , Window 3.11 , Window 95 Software เหล่านี้มีปัญหาในเรื่องการอ่านค่าปีมาแสดง จำเป็นจะต้องรอการแก้ไขโดยบริษัท ผู้ผลิต และให้ผู้รับผิดชอบดำเนินการ ทำการศึกษาหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ และติดตามข่าวสารการ แก้ไขปัญหาจาก Internet หรือจากผู้จำหน่าย Software หรือจากนิตยสารแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ในกรณีที่ผู้ผลิต Software ไม่สามารถแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 ได้ทัน จะไม่มีผลกระทบต่อ ระบบงานหลักของบริษัทฯ และยังคงสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ คุณณรงค์ศักดิ์ เนตรพิศาลวนิช Software ระบบการจัดการฐานข้อมูล ได้แก่ SQL , FoxPro - SQL มีปัญหาในเรื่องปี ค.ศ. 2000 แต่ทางบริษัทฯ ได้ทำการ Download Service Pack 4 มาทำการแก้ไขข้อมูลในเบื้องต้นแล้ว ยังเหลือปัญหาในเรื่อง Backup Database และ Task Manager ซึ่งยังแก้ไขไม่ได้ และจากเอกสารอ้างอิง ของ Microsoft จะมีการออก Service Pack 5 ขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งต้องรอ Download จากบริษัท Microsoft หากไม่ สามารถแก้ไขได้ทัน ในส่วนของ Backup Database จะไม่สามารถนำข้อมูลที่ Backup ก่อนปี ค.ศ. 2000 กลับมาใช้ใหม่ได้ และในส่วนของ Task Manager จะทำให้ไม่รู้จักวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2000 - FoxPro ไม่มีปัญหาเรื่องของปี ค.ศ. 2000 ผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ คุณบารมี กรรณิการ์ Software ระบบปฏิบัติการเครือข่าย ได้แก่ Window NT มีปัญหาในเรื่องต่อไปนี้ - User Manager การกำหนด Expire Date ของ User หากไม่สามารถแก้ไขได้ทันก็ไม่มีผล กระทบต่อการทำงาน - Date Time จะมีผลต่อการ Run Date ไม่ตรงตามปฏิทิน หากไม่สามารถแก้ไขได้ทันจะมีผล ทำให้วันที่ในรายงานผิดพลาด แต่ไม่มีผลต่อข้อมูลโดยตรง - Find File จะมีผลต่อการค้นหา File ในกรณีที่ใส่ปี 2 หลัก หากไม่สามารถแก้ไขได้ทันทุกครั้ง ที่จะค้นหา File ให้ระบุปี 4 หลัก ก็จะไม่มีผลต่อการทำงาน บริษัทฯ จะศึกษาหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ และติดตามข่าวสารการแก้ไขปัญหาจาก Internet หรือจาก Supplier หรือจากนิตยสาร ผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ คุณณรงค์ศักดิ์ เนตรพิศาลวนิช Software ประยุกต์ ในส่วนของ Software ประยุกต์ ได้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่ 1 Software ที่บริษัทฯ พัฒนาขึ้นเอง บน Mainframe บริษัทฯ ได้พัฒนาขึ้นใหม่บน PC และ จะทำการทดสอบ Software ทั้งหมดให้เสร็จสิ้นภายใน ไตรมาสที่ 3 ของปี ค.ศ. 1999 ซึ่งมีระบบงานดังนี้ - ระบบ Inventory ในส่วนของสาขา - ระบบ Human Resource - ระบบ Asset ส่วนที่ 2 Software ที่จ้างเขียน เพื่อแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 เช่น ระบบงาน Inventory ส่วนที่ 3 Software ที่ซื้อสำเร็จเข้ามา เพื่อแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 เช่น ระบบงานบัญชี ผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ คุณศิริ รัตนาไพบูลย์ งบประมาณ ประมาณ 9,000,000 บาท แบ่งเป็น 1.Software ที่จ้างเขียน 5,000,000 บาท 2.Software ที่ซื้อเข้ามา 4,000,000 บาท Software สำเร็จรูป ได้แก่ Lotus , Ms-Office, Norton, Visio บริษัทฯ ศึกษาหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ และติดตามข่าวสารการแก้ไขปัญหาจาก Internet หรือจาก บริษัทผู้พัฒนา Software ขึ้นมา หรือจากนิตยสารแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ คุณศิริ รัตนาไพบูลย์ 3. แผนงานในการแก้ไขปัญหา เพื่อให้การแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในปี ค.ศ. 2000 ได้บรรลุ เป้าหมาย ทางบริษัทฯ จึงได้จัดทำแผนงานดังนี้ แผนดำเนินการ TIMETABLE OF THANULUX PCL. ACTION PLANS 1997 1998 1999 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 1. จัดตั้งคณะกรรมการ Y2K Q1 2. จัดทำรายงานระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ทั้งหมด - ทางด้าน Hardware Q1 Q2 - ทางด้าน Software Q1 Q2 Q3 3. จัดทำรายงานอุปกรณ์ Embedded System Q2 Q3 4. จัดทำแผนงานเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 Q3 5. ทดสอบอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งหมด เพื่อตรวจเช็คว่า Q2 Q3 สามารถรองรับปี ค.ศ. 2000 6. ดำเนินการแก้ไขในส่วนที่มีผลกระทบในด้าน Hardware / Q3 Q4 Operating System 7. ดำเนินการแก้ไขในส่วนของระบบงานที่มีผลกระทบกับ ปี ค.ศ. 2000 - ในส่วนที่ทางบริษัทฯ เขียนโปรแกรมเอง Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 - ในส่วนที่ทางบริษัทฯ จ้างภายนอกเขียนโปรแกรม Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 - ในส่วนที่ทางบริษัทฯ ทำการจัดซื้อ Q3 Q4 8. ทดสอบระบบงานที่ได้ดำเนินการแก้ไข ที่จะมีผลกระทบ กับปี ค.ศ. 2000 - ในส่วนที่ทางบริษัทฯ เขียนโปรแกรมเอง Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 - ในส่วนที่ทางบริษัทฯ จ้างภายนอกเขียนโปรแกรม Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 - ในส่วนที่ทางบริษัทฯ ทำการจัดซื้อ Q1 Q2 9. ทดสอบระบบงานที่เชื่อมโยงกับหน่วยงานภายนอก ที่จะ Q3 Q4 มีผลกระทบกับปี ค.ศ. 2000 10. การตรวจเช็คระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมดรอบสุดท้าย และ Q4 Q1 Q2 Q3 การนำไปใช้งานจริง 4. การดำเนินการแก้ไขปัญหาของบริษัทฯ ในปัจจุบัน 4.1 บริษัทฯ ได้จัดทำแผนงาน และดำเนินการแต่งตั้ง คณะกรรมการ Y2K ในระดับองค์กร ซึ่งประกอบด้วยกรรมการบริษัทฯ 5 ท่าน และตัวแทนจากแผนกประมวลข้อมูล โดยมี คุณวินัย ภาณุสุวรรณ เป็นหัวหน้าคณะทำงาน 4.2 ได้จัดทำรายงานระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ทั้งหมด พร้อมทั้งทำการทดสอบเบื้องต้น เพื่อ จัดแบ่งประเภทของ Hardware 4.3 ดำเนินการจัดจ้างบริษัทภายนอกเข้ามาพัฒนาระบบงาน Inventory 4.4 ติดตามการแก้ไขปัญหาจาก Internet เพื่อ Download Service Pack มาแก้ไขปัญหา Software และทดสอบผลที่ได้อีกครั้งหนึ่ง 4.5 กำลังดำเนินการจัดซื้อระบบงานบัญชี 4.6 กำลังดำเนินการแก้ไขระบบงานภายในที่บริษัทฯ พัฒนาเอง 4.7 กำลังดำเนินการติดต่อผู้จำหน่ายอุปกรณ์ต่าง ๆ 4.8 กำลังดำเนินการติดต่อคู่ค้า เพื่อสำรวจปัญหา Y2K 5. บทวิเคราะห์และคำอธิบายของฝ่ายบริหาร บริษัทฯ ได้มีการศึกษาเรื่องปัญหาปี ค.ศ.2000 มาตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.2539 และได้มี การจัดตั้งคณะกรรมการ Y2K ในช่วงต้นปี พ.ศ.2540 คณะกรรมการ Y2K ประกอบด้วยกรรมการ บริษัทฯ 5 ท่าน และตัวแทนจากแผนกประมวลข้อมูล วัตถุประสงค์ของคณะกรรมการ Y2K เพื่อศึกษา และเตรียมความพร้อมสำหรับปี ค.ศ. 2000 บริษัทฯ เป็นโรงงานผู้ผลิตสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูป และสินค้าเครื่องหนัง ซึ่งใช้แรงงาน เป็นหลัก มีเพียงเครื่องจักรและอุปกรณ์บางส่วนที่ใช้ Microprocessor ซึ่งไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจาก ปี ค.ศ.2000 ปัญหาปี ค.ศ.2000 จะมีผลกระทบต่อระบบการประมวลข้อมูลของบริษัทฯ ซึ่งปัญหานี้ คณะ กรรมการ Y2K ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในด้านต่าง ๆ พร้อมทั้งแนว ทางแก้ไข คณะทำงานได้จัดทำแบบดำเนินงาน และสิ่งที่ต้องปฏิบัติ รายงานต่อคณะกรรมการ Y2K การศึกษา และเตรียมงานของคณะทำงาน บริษัทฯ จะสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 ได้เสร็จในไตรมาสที่ 3 ของปี พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบข้อความและข้อมูลในแบบรายงายฉบับนี้แล้วขอรับรองว่าข้อความ และ ข้อมูลดังกล่าวถูกต้องครบถ้วน ไม่เป็นเท็จ ไม่ทำให้ผู้อื่นสำคัญผิดหรือขาดข้อความที่ควรต้องแจ้งในสาระ สำคัญ อันอาจทำให้ผู้ถือหรือผู้เข้าซื้อหลักทรัพย์เสียหาย ในกรณีนี้เพื่อเป็นหลักฐานว่าเอกสารทั้งหมดเป็นเอกสารที่ข้าพเจ้าได้รับรองความถูกต้องที่ เป็นชุดเดียวกัน ข้าพเจ้าได้มอบหมายให้ นายวินัย ภาณุสุวรรณ เป็นผู้ลงรายมือชื่อกำกับเอกสารนี้ไว้ ทุกหน้าด้วย หากเอกสารใดไม่มีลายมือชื่อของ นายวินัย ภาณุสุวรรณ กำกับไว้ ข้าพเจ้าจะถือว่าไม่ ใช่ข้อมูลที่ข้าพเจ้าได้รับรองความถูกต้องของข้อมูลไว้ ชื่อ ตำแหน่ง ลายมือชื่อ 1. นายสมชาย ทรงศักดิ์เดชา กรรมการผู้จัดการ ..................... 2. นางวารินทร์ ลีลานุวัฒน์ กรรมการรองผู้จัดการ ..................... 3. นายวินัย ภาณุสุวรรณ กรรมการบริหาร ..................... 4. นางสาวดุษฎี สุนทรธำรง กรรมการบริหาร ..................... 5. นายสุพจน์ ภควรวุฒิ กรรมการบริหาร ..................... 6. นายโสภณ ณรงคนานุกูล กรรมการบริหาร ..................... 7. นายวิชัย สุฐิติวนิช กรรมการบริหาร ..................... ผู้รับมอบอำนาจ นายวินัย ภาณุสุวรรณ ตำแหน่ง กรรมการบริหาร ลายมือชื่อ ..................