หมายเหตุประกอบงบการเงินไตรมาสที่ 1/2541

15 พฤษภาคม 2541
รายงานของผู้สอบบัญชี เสนอ ผู้ถือหุ้น บริษัท ธนูลักษณ์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ข้าพเจ้าได้สอบทานงบดุลรวม ณ วันที่ 31 มีนาคม 2541 งบกำไรขาดทุนรวม งบกำไรสะสมรวม งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้นรวม และงบกระแสเงินสดรวม สำหรับไตรมาสที่ 1 สิ้นสุดวันเดียวกันของ บริษัท ธนูลักษณ์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และได้ สอบทานงบการเงินเฉพาะของ บริษัท ธนูลักษณ์ จำกัด (มหาชน) ตามมาตรฐานที่กำหนดโดยสมาคม นักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย การสอบทานงบการเงินระหว่างกาลนี้ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยการทำความเข้าใจ เกี่ยวกับระบบในการจัดทำงบการเงิน การใช้วิธีวิเคราะห์เปรียบเทียบในการวิเคราะห์ข้อมูลทาง การเงิน และการสอบถามเจ้าหน้าที่ของบริษัทผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทางการเงินและบัญชี ซึ่งการสอบ ทานนี้มีขอบเขตจำกัดกว่าการตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป เพื่อแสดงความเห็น ต่องบการเงินมาก ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่อาจแสดงความเห็นต่องบการเงินที่สอบทานได้ ข้าพเจ้าไม่พบสิ่งที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งควรนำมาปรับปรุงงบการเงินระหว่างกาล นี้ให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป จากการสอบทานของข้าพเจ้าดังกล่าวข้างต้น (นายนที แสงอุดมเลิศ) ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ทะเบียนเลขที่ 300 กรุงเทพมหานคร วันที่ 13 พฤษาคม 2541 บริษัท ธนูลักษณ์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงินรวม สำหรับงวดไตรมาสที่ 1 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2541 ------------------------------------------------------------------ 1. หลักในการจัดทำงบการเงินรวม งบการเงินของบริษัทได้รวมงบการเงินของ บริษัท ธนูลักษณ์ จำกัด (มหาชน) สำหรับงวดสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2541 รายการที่เกิดขึ้นระหว่างบริษัทได้ตัดออกในการ จัดทำงบการ เงินรวม บริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท ธนูลักษณ์กบินทร์บุรี จำกัด ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 99.99 ของทุนที่ออกจำหน่าย ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในบริษัทย่อย ประกอบด้วยส่วนของผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนการ ลงทุนของผู้ถือหุ้นรายย่อยในบริษัทย่อยและผลกำไรจากการดำเนินงาน 2. มูลฐานสำหรับงบการเงินรวม ส่วนหนึ่งของทรัพย์สิน หนี้สิน รายได้ และค่าใช้จ่ายของบริษัท เป็นรายการที่ เกิดขึ้นกับบริษัทร่วมและบริษัทในเครือ งบการเงินนี้ จึงแสดงรวมถึงผลของรายการดังกล่าวตามมูล ฐานที่ได้ตกลงร่วมกันระหว่างบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน 3. นโยบายการบัญชีที่สำคัญ 3.1 บริษัทรับรู้รายได้จากการขายเมื่อส่งผลิตภัณฑ์ให้แก่ลูกค้าแล้ว 3.2 สินทรัพย์ถาวร แสดงในราคาทุนหลังหักค่าเสื่อมราคาแล้ว การคำนวณค่าเสื่อมราคาใช้ วิธีเส้นตรงในอัตราสูงสุดที่กฎหมายยอมให้หักได้ (นอกจากที่ดินไม่ได้หักค่าเสื่อมราคา) สำหรับสินทรัพย์ของบริษัทย่อย ที่ซื้อมาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2539 คำนวณค่าเสื่อมราคา ในอัตรา 10 % ต่อปี 3.3 สินค้าคงเหลือ ตีราคาดังนี้ สินค้าสำเร็จรูปและวัตถุดิบคงเหลือ ตีราคาในราคาทุน ถัวเฉลี่ยหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่อย่างใดจะต่ำกว่า สินค้าระหว่างผลิตคงเหลือ แสดงในราคาทุน 3.4 วัสดุและของคงเหลืออื่น แสดงในราคาทุน 3.5 เงินลงทุนหลักทรัพย์หุ้นทุนบริษัทในเครือและบริษัทอื่น แบ่งออกเป็นดังนี้ - หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด แสดงในราคาทุนรวมหรือตลาดรวมที่ต่ำกว่า ราคาตลาดใช้ราคาปิด ณ วันสิ้นงวดที่ซื้อขายครั้งสุดท้ายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ ไทย - หลักทรัพย์นอกตลาด แสดงในราคาทุน เงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม บันทึกบัญชีตามวิธีส่วนได้เสีย สำหรับกำไรขาดทุนจากการขายหลักทรัพย์ ใช้เกณฑ์ถัวเฉลี่ย 3.6 รายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ได้คำนวณค่าเงินเป็นเงินบาทตามอัตราแลก เปลี่ยน ณ วันชำระหนี้ ยอดคงเหลือของรายการทรัพย์สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ณ วันสิ้นงวด ได้แปลงค่าเป็นเงินบาทตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อ หนี้สินที่ค้าง อยู่ ณ วันสิ้นงวดคำนวณค่าเป็นเงินบาทตามราคาถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ขาย ณ วัน สิ้นงวด กำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนได้รวมคำนวณในงบกำไรขาดทุนแล้ว 3.7 ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ได้ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญตามจำนวนที่คาดว่าจะเรียกเก็บไม่ได้ ตามประสพการณ์ที่ผ่านมา 3.8 สำหรับบริษัทย่อย ค่าใช้จ่ายรอการตัดจ่าย ได้แก่ค่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์และค่าธรรม เนียมเพิ่มทุน ตัดจ่ายในเกณฑ์ 5 ปี 3.9 ค่าความนิยมจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม ตัดจ่ายภายใน 10 ปี 4. เงินลงทุนในบริษัทร่วมและบริษัทย่อย บริษัทได้ลงทุนในบริษัทอื่นเกินกว่า 20 % ของเงินทุนในบริษัท มีดังนี้ ถือหุ้นร้อยละ 1. บริษัท ธนูลักษณ์กบินทร์บุรี จำกัด 99.99 2. KUNMING SHENJIAN FASHION DRESS CO., LTD ** 90.00 3. PUNING XIE ZHONG GARMENT CO., LTD. 33.33 4. บริษัท ไทยฮามิลตัน จำกัด 25.00 5. บริษัท โทเทิลเวย์ อิมเมจ จำกัด 21.00 6. บริษัท ไทยมอนสเตอร์ จำกัด 21.00 7. INTERNATIONAL COMMERCIAL COORDINATION(HK) LTD. 20.00 ** บริษัทมิได้ดำเนินกิจการและมิได้จัดทำงบการเงิน บริษัทฯ จึงมิได้บันทึกเงินลงทุนในบริษัทร่วม โดยวิธีส่วนได้เสีย 5.. การจัดสรรกำไร บริษัทได้บันทึกการจัดสรรกำไรเมื่อได้รับอนุมัติการจัดสรรจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นแล้ว 6. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทฯ ได้จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 2530 เมื่อ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2536 โดยพนักงานจ่ายสะสมส่วนหนึ่ง และบริษัทจ่ายสมทบอีกส่วนหนึ่งตามที่กำหนด ทั้งนี้ บริษัทได้แต่งตั้งผู้จัดการกองทุนเพื่อบริหารกองทุนดังกล่าวตามกฎกระทรวงบริษัทฯ ได้ขอระงับการ ดำเนินการของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2540 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2542 7. กำไรต่อหุ้น กำไรต่อหุ้น คำนวณโดยการหารกำไรสุทธิด้วยจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่าย 8. ภาระผูกพัน ณ วันที่ 31 มีนาคม 2541 บริษัทมีภาระผูกพันดังนี้ - บริษัทได้ทำสัญญากับผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าเกี่ยวกับการใช้เครื่องหมายการค้าเพื่อ ผลิตและจำหน่าย สินค้าเสื้อผ้า และเครื่องหนัง ซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่ต่างฝ่าย ต่างต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญารวม 14 เครื่องหมาย ค่าสิทธิที่ต้องจ่าย 0.3 - 8.0 % - วงเงินการเปิด L/C เพื่อสั่งซื้อวัตถุดิบจากต่างประเทศที่ยังไม่ใช้เป็นเงิน 80.06 ล้านบาท - ภาระตามหนังสือค้ำประกันที่ธนาคารออกให้เพื่อค้ำประกันภาษีศุลกากรจากธนาคาร 2 แห่ง รวม 5.4 ล้านบาท และมีภาระการค้ำประกันการใช้ไฟฟ้า 4.89 ล้านบาท - บริษัทได้ทำสัญญาเช่าที่ดินเพื่อเป็นโกดังวัตถุดิบที่แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ เป็นระยะเวลา 15 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2535 ครบกำหนดวันที่ 29 พฤศจิกายน 2550 โดยจ่ายค่าตอบแทนในการโอนสิทธิการเช่า 300,000.00 บาท และต้องจ่าย ค่าเช่ารายเดือนตามสัญญา - บริษัทได้จองซื้อที่ดิน 1 แปลง เนื้อที่ 5 ไร่ 2 งาน 93.2 ตารางวา ณ ตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เป็นเงิน 4,586,400.00 บาท โดยได้จ่ายค่าจองไปแล้ว รวม 3,057,600.00 บาท และบริษัทได้จองซื้อที่ดินเพิ่มอีก 1 แปลง เนื้อที่ 5 ไร่ 3 งาน 71.2 ตารางวา เป็นเงิน 5,690,880.00 บาท โดยจ่ายค่าจอง 24 งวด รวม 3,793,920.00 บาท ที่เหลือชำระในวันโอน และบริษัทได้จองซื้อที่ดินอีก 2 แปลง เนื้อที่ 11 ไร่ 91.413 ตารางวา เป็นเงิน 12,351,385.75 บาท โดยชำระในวันจอง เป็นเงิน 1,351,385.75 บาท และจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้า 11 ฉบับ ๆ ละ 1.0 ล้านบาท 9. รายการที่เกี่ยวข้องกับบริษัทที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจ 9.1 บริษัทและบริษัทในเครือได้มีรายการค้าระหว่างกัน ดังนี้ งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท (พันบาท) (พันบาท) ลูกหนี้การค้าและเช็ครับล่วงหน้า 27,906 33,747 เงินให้กู้ยืม 196,967 242,716 เจ้าหนี้การค้าและค่าใช้จ่าย 4,824 12,202 รายได้ค้างรับ 9,722 10,046 รายได้จากการขาย 16,929 23,104 รายได้อื่น 175 175 ซื้อสินค้าและวัตถุดิบ 8,945 16,950 ค่าใช้จ่ายอื่น 4,652 4,652 9.2 บริษัทได้รับอนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 24 วันที่ 27 เมษายน 2541 9.2.1 ให้จัดสรรวงเงินให้กู้แก่บริษัทที่มีความสัมพันธ์กับบริษัททางธุรกิจรวมจำนวนเงิน 500.0 ล้านบาท ณ วันสิ้นงวด มียอดเงินให้กู้แก่บริษัทรวม 2 บริษัท จำนวนเงิน 196.97 ล้านบาท 9.2.2 ให้ค้ำประกันแก่บริษัทที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัท สำหรับการใช้เครดิต กับธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ ในอัตราไม่เกินกึ่งหนึ่งของสินทรัพย์รวม ของบริษัท ณ วันสิ้นงวด บริษัทมีภาระค้ำประกันรวม 219.42 ล้าน จำนวน 15 บริษัท 10. ข้อมูลจำแนกตามส่วน (หน่วยพันบาท) (หน่วยพันบาท) งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท งวด 31 มีค. 2541 งวด 31 มีค. 2541 ขายสินค้าในประเทศ 109,730 115,150 ขายสินค้าต่างประเทศ 145,127 136,726 รวม 254,857 251,876 11. สิทธิและประโยชน์จากการส่งเสริมการลงทุน บริษัทได้รับสิทธิและประโยชน์จากบัตรส่งเสริมการลงทุน ตาม พ.ร.บ. การส่งเสริมการ ลงทุน พ. ศ. 2520 ในกิจการประเภท 3.6 การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป และในกิจการประเภท 3.10 การผลิตผลิตภัณฑ์หนังสัตว์ หรือหนังเทียม โดยได้รับสิทธิและประโยชน์ตามมาตรา 25, 26, 28, 30, 31,วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม มาตรา34, 35(2) (3) (4), 36 (1) (2) (4) วรรคหนึ่ง และวรรคสอง และมาตรา 37 ซึ่งได้ยกเว้นภาษีเงินได้มีกำหนด 8 ปี โดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุนเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2539 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2538 และวันที่ 10 พฤศจิกายน 2537 ตามลำดับทั้งนี้ นอกจากสิทธิและประโยชน์ดังกล่าว บริษัทจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในบัตร ส่งเสริมโดยเคร่งครัด 12. การแสดงรายการในงบการเงิน การแสดงรายการในงบการเงินงวดไตรมาสที่ 1 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2540 ได้จัดหมวด หมู่ใหม่ตามกฏกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2539 เพื่อให้เปรียบเทียบกับงบการเงินงวดไตรมาสที่ 1 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2541 13. งบกระแสเงินสด บริษัทฯ ได้เริ่มจัดทำงบกระแสเงินสดสำหรับงวดไตรมาสที่ 1 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2541 เป็นงวดแรก จึงไม่มีงบกระแสเงินสดสำหรับงวดไตรมาสที่ 1 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2540 มาแสดง เปรียบเทียบ รับรองว่าถูกต้อง ............กรรมการ .......................กรรมการ